aliexpress-thai-custom-tax-3

ในช่วงหลายปีหลังนี้ต้องยอมรับว่าของจาก AliExpress น่าซื้อขึ้นมาก ถ้าเลือกดีๆ จะได้ของราคาถูก และคุณภาพถือว่าสมกับราคา บางครั้งประหยัดกว่าซื้อในไทยไปหลายพันเลย ส่วน Amazon ก็แน่นอน เจ้าเก่า สินค้ามีให้เลือกมากมาย แต่ค่า shipping ส่วนใหญ่อาจจะแพงไปนิด แต่ถ้ารับได้ก็ช้อปเพลิน

ที่นี้คำถามที่เจอกันบ่อยๆ รวมถึงตัวเองในตอนที่จะสั่งซื้อครั้งแรกๆ ก็คือ

“จะโดนภาษีไหม”

“ของอะไรที่ได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าบ้าง”

และอื่นๆ อีกมากมาย เอาเป็นว่าโพสนี้จะสรุปให้ จากประสบการณ์ตรง ที่สั่งของไปรวมๆ กันก็เยอะพอสมควร (ไม่อยากจะคิดจำนวนเงิน กระเป๋าแบนเลยทีเดียว 555)

สั่งของต่างประเทศอย่างไร ไม่ให้โดนภาษี

1) ราคาของ รวมค่าส่ง และค่าประกันภัย (ถ้ามี) จะต้องไม่เกิน 1,500 บาท

อันนี้เป็นข้อยกเว้นของศุลกากรเลย หากมูลค่ารวมไม่เกิน จะได้รับการยกเว้นภาษี ตามภาพข้างล่าง

แต่!! ศุลกากรไม่จำเป็นจะต้องยึดตามราคาที่จ่าไว้หน้าซองเสมอไป เพราะหลังๆ มีผุ้ขายหัวใส นิยม declare ราคาต่ำๆ เพื่อให้รอดภาษี ทำให้ศุลกากรไม่เชื่อราคาหน้าซองอีกต่อไปและใช้วิธีการ ประเมินเองตามดุลพินิจ นั่นแปลว่า หากคุณสั่งของที่ดูมีมูลค่าแพง แม้ว่าราคาที่จ่ายไปจริงๆ จะไม่ถึง 1,500 บาท คุณก็อาจจะโดนภาษีได้ครับ ดังนั้นก่อนสั่งของ ควรลองจินตนาการว่าถ้าเราเป็นศุลกากรแกะห่อมา เราจะคิดว่าของชิ้นนี้ราคาเท่าไหร

หมายเหตุ ราคาของ รวมค่าส่ง และค่าประกันภัย จะเรียกย่อๆ ว่า CIF (Cost +Insurance + Freight) ซึ่งจะใช้ค่านี้ในการคิดภาษีนำเข้า ตามภาพข้างล่าง

aliexpress-thai-custom-tax-2

2) อย่าสั่งของใหญ่ ของหนัก

แน่นอน ของใหญ่ๆ ส่วนมากมักมีราคา อย่างน้อยก็มีโอกาสโดนสุ่มเปิดตรวจก่อนแน่นอน และที่สำคัญถ้าคุณซื้อของใหญ่ แล้วผู้ขาย declare ราคาหน้าซองมาต่ำๆ โอกาสโดนภาษีมีมากเลยทีเดียว ที่เคยสั่งมา พบว่าหากน้ำหนักของไม่ถึง 2 kg และขนาดกล่องไม่มีด้านไหนเกิน 1 ไม้บรรทัด (30 cm) ก็ไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนห่อเล็กๆ ขนาดเท่ากล่องมือถือ พวกนี้สั่งเท่าไหรก็ไม่เคยโดนเลยสักครั้งเดียว

3) อย่าใช้บริการ Shipping Courier (FedEx, DHL, etc.)

ได้ของไว แต่มั่นใจได้เลยว่าโดนภาษีแน่นอน 555+ (โอกาสไม่โดนน่าจะสัก 5%) แถมเวลาโดนภาษีจะโดนคิดค่าธรรมเนียม (ค่าเสียเวลา) เพิ่มอีก ข้อดีอย่างเดียวก็คือ พนักงานมาเคลียร์ภาษีให้ถึงหน้าบ้านเลย คือจ่ายเงินค่าของ + ภาษีแล้วรับของแบบเศร้าๆ ได้เลย ควรใช้บริการไปรษณีย์ไทยเท่านั้น list ข้างล่างนี้คือ shipping method ที่เวลาสั่งของแล้วจะส่งถึงมือเราโดยไปรษณีย์ไทย

  • AliExpress’s Standard Shipping
  • Chinapost (Airmail และ Ordinary)
  • ePacket
  • USPS
  • Royal Airmail
  • Singapore post

aliexpress-thai-custom-tax-4

4) อย่าสั่งของในหมวดฟุ่มเฟือย

กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา เครื่องสำอาง รองเท้า เข็มขัด ของแฟชั่น กลุ่มนี้มักจะโดนศุลกากรเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เนื่องจากมีราคาสูงโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว และมีอัตราภาษีที่สูง ถ้าเป็นไปได้อย่าสั่งของพวกนี้ หรือถ้าสั่ง ต้องทำใจไว้ส่วนนึงเลย แม้ว่าบางครั้งมูลค่าอาจจะไม่ถึง 1,500 บาท ก็มีสิทธิโดน (ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะอุทธรณ์ได้ แต่ก็ไม่คุ้มค่าเสียเวลา ยกเว้นบ้านคุณอยู่ใกล้ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ)

5) สั่งของที่ได้รับการยกเว้นภาษี

สินค้าที่ไทยผลิตเองไม่ได้หรือรัฐสนับสนุน จะได้รับการยกเว้นภาษี เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หนังสือ และโทรศัพท์มือถือ

ใช่แล้วครับ มือถือไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า!!

แต่ช้าก่อน ถึงจะไม่เสียภาษีนำเข้า แต่ต้องเสีย vat 7% นะ ถ้าเทียบราคาแล้   วคิดว่าคุ้มความเสี่ยงเครื่องเสียหายระหว่างขนส่ง ก็สั่งโลด ซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นก้โดน vat กันถ้วนหน้า

ส่วนตัวไม่เคยสั่งมือถือ แต่เคยสั่งอุปกรณ์คอมไปเกือบหมื่นบาทจาก AliExpress (แต่กล่องไม่ใหญ่) ก็ไม่โดนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งหมดนี้ คือแนวทางการสั่งของไม่เห็นโดนภาษี ซึ่งถูกต้องตามกฏหมายทุกอย่าง ไม่ได้ทำการหลอกหรือแจ้งข้อมูลเท็จต่อศุลกากรแต่อย่างใด!

ขอให้สนุกกับการช้อปปิ้งครับ 🙂

aliexpress-thai-custom-tax-3

อย่าลืมติดตามบทความจากบล็อกนี้จากได้ทาง Facebook Page บล็อกนายช่าง และกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมมีแรงทำบล็อกนี้ต่อไปด้วยนะครับ